เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 13. วิมุตติญาณนิทเทส
หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส 5 ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ เป็นกิเลสที่สกทาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส 4 ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ เป็นกิเลสที่อนาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส 4 ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นกิเลสที่อรหัตตมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส 8 ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลส
ที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะ
รู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรค
ตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ

วิมุตติญาณนิทเทสที่ 13 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :105 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 14. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
14. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
แสดงปัจจเวกขณญาณ
[65] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วม
กันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันใน
ณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบระงับ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความ
เกียจคร้าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา มาร่วมกันในขณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :106 }